บทความกฎหมายน่ารู้: การจ้างเหมาบริการ มีลักษณะอย่างไร ?
บทความกฎหมายน่ารู้: การจ้างเหมาบริการ มีลักษณะอย่างไร ?
การจ้างเหมาบริการของส่วนราชการในปัจจุบัน เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ที่มีมาตรการการปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ และให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการภาครัฐมากขึ้น ซึ่งลักษณะงานที่จ้างเอกชนดำเนินงานจะมีลักษณะจ้างเฉพาะโครงการ หรือเฉพาะครั้งคราวที่มีความจำเป็นเพื่อเสริมการปฏิบัติงานในหน้าที่ปกติของส่วนราชการนั้น โดยให้ทำสัญญาจ้างหรือข้อตกลงจ้างตามระยะเวลาที่ปฏิบัติงานจริง อาจเป็นสัญญาหรือข้อตกลงการจ้างเต็มปีงบประมาณหรือไม่เต็มปีงบประมาณก็ได้ กรณีที่มีความจำเป็นต้องจ้างเอกชนดำเนินงาน ได้แก่ กรณีไม่มีตำแหน่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานซึ่งเป็นงานใหม่หรือโครงการใหม่ หรือกรณีมีตำแหน่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน แต่ไม่สามารถปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดเนื่องจากปริมาณงานมาก หรือกรณีมีตำแหน่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานแต่ต่อมาตำแหน่งนั้นว่างลงหรือถูกยุบเลิกตำแหน่ง
โดยที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้มีหนังสือเวียนเกี่ยวกับการจ้างเอกชนดำเนินงานหลายฉบับ เพื่อให้ ส่วนราชการได้ดำเนินการให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ กลุ่มงานนิติการ สำนักอำนวยการ จึงได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการจ้างเอกชนดำเนินงาน หรือการจ้างเหมาบริการ/ จ้างปฏิบัติงานในโครงการ โดยรวบรวมจากหนังสือเวียนของกระทรวงการคลังต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บุคลากรของสถาบันได้ศึกษาและทำความเข้าใจ รายละเอียดดังนี้
ลักษณะการจ้าง
- การจ้างเหมาบริการ/ จ้างปฏิบัติงานในโครงการ มีลักษณะเป็นการจ้างทำของ ใช้วิธีการจัดหาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ถือเป็นการจ้างลูกจ้าง และไม่ถือเป็นการจ้างแรงงานที่สถาบันซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างกับเอกชนซึ่งเป็นผู้รับจ้างจะมีนิติสัมพันธ์ในฐานะ “นายจ้างกับลูกจ้าง” ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- การจ้างเหมาบริการ/ จ้างปฏิบัติงานในโครงการ มีลักษณะมุ่งผลสำเร็จของงานที่ว่าจ้างภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญาหรือข้อตกลงการจ้างเป็นสำคัญ มีวัตถุประสงค์ให้ผู้รับจ้างทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้แก่ผู้ว่าจ้างจนสำเร็จ และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแก่งานที่ทำนั้น โดยพิจารณาจากเนื้องาน
- การกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามสัญญาหรือข้อตกลงการจ้าง อาจกำหนดเต็มปี งบประมาณหรือไม่เต็มปีงบประมาณก็ได้ ซึ่งการกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานจะต้องสัมพันธ์กับเนื้องานที่ประสงค์จะจ้าง (แต่จะทำสัญญาหรือข้อตกลงได้ไม่เกินรอบปีงบประมาณนั้น ๆ) และมิให้ทำสัญญาหรือข้อตกลงการจ้างในลักษณะต่อเนื่อง กล่าวคือ ภายหลังจากสัญญาหรือข้อตกลงการจ้างนั้นสิ้นสุดลง จะต้องดำเนินกระบวนการจัดหาใหม่ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากผลปรากฏว่าผู้รับจ้างรายเดิมได้รับการคัดเลือก ก็ชอบที่จะดำเนินการทำสัญญาหรือข้อตกลงการจ้างกับผู้รับจ้างรายดังกล่าวต่อไปได้
- ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาหรือสั่งการในการทำงาน แต่ผู้ว่าจ้างมีเพียงอำนาจในการ ตรวจตรางาน และสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขเมื่องานผิดพลาดบกพร่อง การปฏิบัติงานอาจใช้วิธีบันทึกเวลาการมาทำงานว่ามาทำงานตามที่ตกลงไว้ก็ได้
ค่าจ้าง
- การจ่ายค่าจ้างไม่จำต้องจ่ายตามวุฒิการศึกษา แต่พิจารณาจากความรู้และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่แท้จริงหรืออัตราตลาด (คือ อัตราจ้างปกติทั่วไปที่เป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมกับการจ้างงานนั้น โดยให้คำนึงถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ด้วย)
ทั้งนี้ การจ่ายค่าจ้างตามสัญญาหรือข้อตกลงการจ้าง จะจ่ายได้ต่อเมื่อได้มีการตรวจรับงานจ้างโดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุเรียบร้อยแล้ว
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์
- เนื่องจากผู้รับจ้างเหมาบริการมีฐานะเป็นผู้รับจ้างทำของตามสัญญาหรือข้อตกลงการจ้าง ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงไม่มีสถานภาพเป็นเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง รวมถึงผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ของสถาบัน ตามนัยมาตรา 35 แห่ง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่จะมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ สวัสดิการ ที่พึงได้รับจากสถาบัน เป็นเพียงผู้รับจ้างทำของจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้ว่าจ้างในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน ผู้ว่าจ้างจึงไม่อยู่ ในบังคับที่จะต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ว่าจ้างเข้ากองทุนประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน อย่างไรก็ดี หากผู้รับจ้าง ประสงค์ที่จะได้รับประโยชน์ของผู้ประกันตนก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนได้ตามกฎหมายดังกล่าว
ความรับผิด
- ผู้รับจ้างเหมาบริการไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และไม่อยู่ภายใต้การดำเนินการทางวินัยของสถาบัน แต่ผู้รับจ้างต้องรับผิดตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง การจ้าง
ความแตกต่างระหว่าง “เจ้าหน้าที่สถาบัน” กับ “จ้างเหมาบริการ”
ลำดับ | ประเด็น | เจ้าหน้าที่สถาบัน | จ้างเหมาบริการ |
---|---|---|---|
1 | นิติสัมพันธ์กับสถาบัน |
|
|
2 | การสรรหาว่าจ้าง |
|
|
3 | ระยะเวลาการจ้าง |
|
|
4 | งบประมาณที่ใช้จ้าง |
|
|
5 | พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และการดำเนินการทางวินัย |
|
|
6 | สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล |
|
|
7 | การตรวจรับพัสดุ |
|
|
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 ก.พ.64 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 41
หนังสือเวียนกระทรวงการคลัง ที่ กค0526.5/ว 131 ลงวันที่ 28 ธ.ค.41, ที่ กค 0409.6/ว 86 ลงวันที่ 17 ก.พ.48, ที่ กค 0406.4/ว 67 ลงวันที่ 14 ก.ค.53 และที่ กค 0406.4/ว 337 ลงวันที่ 17 ก.ย.53