คณะกรรมการตรวจสอบ
|
รายชื่อ |
ตำแหน่ง |
(1) |
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร |
ประธานกรรมการ |
(2) |
นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ |
กรรมการ |
(3) |
นางสาวพรวิลัย เดชอมรชัย |
กรรมการ |
(4) |
นางสาวธำรงลักษณ์ ลาพินี |
กรรมการ |
(5) |
หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน |
เลขานุการ |
(6) |
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน |
ผู้ช่วยเลขานุการ |
อำนาจหน้าที่:
- จัดทำกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบให้สอดคล้องกับขอบเขตความรับผิดชอบในการดำเนินงานของสถาบัน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และมีการสอบทานความเหมาะสมของกฎบัตรดังกล่าวอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
- สอบทานประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการควบคุมภายใน กระบวนการบริหารความเสี่ยงและกระบวนการกำกับดูแลที่ดี รวมถึงระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตของสถาบัน และระบบการรับแจ้งเบาะแส
- สอบทานให้สถาบันมีการรายงานการเงินอย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ
- พิจารณาตัดสินในกรณีที่ฝ่ายบริหารและผู้สอบบัญชีมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับรายงานการเงิน
- สอบทานการดำเนินงานของสถาบันให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน รวมทั้งข้อกำหนดอื่นของสถาบัน
- กำกับดูแลระบบงานตรวจสอบภายในของสถาบัน ให้มีความเป็นอิสระเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในหน้าที่
- พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือมีโอกาสเกิดการทุจริตที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของสถาบัน
- พิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง ลงโทษทางวินัยและประเมินผลงานของหัวหน้าผู้ตรวจสอบภายในและผู้ตรวจสอบภายในร่วมกับผู้อำนวยการและเสนอคณะกรรมการเพื่อให้ความเห็นชอบ
- ประชุมหารือร่วมกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือผู้สอบบัญชีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเห็นชอบเกี่ยวกับผลการตรวจสอบและเรื่องอื่นๆ และอาจเสนอแนะให้สอบทานหรือตรวจสอบรายการใดที่เห็นว่าจำเป็น รวมถึงเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีต่อคณะกรรมการ
- รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ประกอบด้วย การรายงานต่อคณะกรรมการและการรายงานต่อบุคคลภายนอก ทั้งนี้ การรายงานต่อบุคคลภายนอกให้จัดทำรวมในรายงานประจำปีของสถาบันหรือเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสถาบัน โดยประธานกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ลงนามในรายงานดังกล่าว และต้องมีเนื้อหาอย่างน้อย ดังนี้
- ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริตของสถาบัน
- ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในด้านการเงิน
- จำนวนครั้งในการจัดประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละราย
- ประเมินผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคของหน่วยตรวจสอบภายใน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในและศักยภาพของผู้ตรวจสอบภายในของหน่วยตรวจสอบภายใน อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งต่อคณะกรรมการ
- ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดหรือคณะกรรมการมอบหมาย
อัตราการจ่ายเบี้ยประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ |
|
ประธานกรรมการสถาบัน |
8,750 บาท |
กรรมการ |
7,000 บาท |
|
|
หมายเหตุ: คำสั่งคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ที่ 2/2566 สั่ง ณ วันที่ 3 มกราคม 2566 |