สถิติการได้รับรางวัลเลิศรัฐ สวพส.

2562 2563 2564 2565 2566 2567 รวม
เกียรติยศเลิศรัฐ - - - - - 1 1
PMQA 4.0 - - 1 1 1 3
เลิศรัฐสาขา - - - - 1 - 1
การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม 2 3 3 6 3 3 20
บริการภาครัฐ 1 - 1 1 1 2 6
รวม 3 3 4 8 6 7 31
 

ความเป็นมาโครงการ

 

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. ได้พัฒนาองค์กรตามแนวทางมาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ Thailand Quality Award (TQA) ที่มีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 90 ประเทศนำไปประยุกต์ใช้ สวพส. ได้เริ่มศึกษาและดำเนินการตามแนวทางมาตรฐาน TQA ในปีงบประมาณ 2560 โดยจัดตั้งคณะทำงานพัฒนายกระดับคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร (TQA) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2559 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายพัฒนายกระดับคุณภาพการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งได้มีการวิเคราะห์โครงร่างองค์กร ทำให้รับทราบปัญหาและสิ่งที่จะดำเนินการแก้ไขในแต่ละหมวด และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ได้มีการวางแผนปรับปรุงงานในแต่ละส่วน เพื่อพัฒนางานด้านต่างๆ ให้มีผลงานบรรลุตามวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์การจัดตั้ง สวพส. การดำเนินการตามแนวทางรางวัลคุณภาพ TQA เป็นประโยชน์ในการช่วยปรับปรุงกระบวนการพัฒนาขีดความสามารถ และผลลัพธ์การดำเนินงานขององค์กร กระตุ้นการสื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างองค์กร รวมทั้งชี้นำความคิดในเชิง กลยุทธ์ และสร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ


ในปี 2561 คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 มีมติให้หน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งองค์การมหาชน พัฒนาองค์การสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 โดยมอบมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทำหน้าที่ส่งเสริมและดำเนินการตรวจรับรองสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้พัฒนาเกณฑ์การประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2561 ได้มีหนังสือแจ้งให้หน่วยงานภาครัฐ ดำเนินการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 โดยได้จัดทำคู่มือและระบบการประเมินออนไลน์ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้ในการวิเคราะห์จุดแข็งและโอกาสในการปรับปรุงองค์กร ตลอดจนการวางแผนและพัฒนาหน่วยงานภาครัฐสู่การเป็นระบบราชการ 4.0

ในการประชุมผู้บริหาร สวพส. เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2561 ได้มีมติเห็นชอบให้ สวพส.เข้าร่วมการประเมินสถานะของหน่วยงานสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 โดย สวพส. ได้ประกาศเจตนารมณ์ เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการองค์การสู่ความเป็นเลิศด้านวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และมีเป้าหมายในการยกระดับ องค์กรเป็นองค์การสมรรถนะสูง ทันสมัย มีคุณภาพด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และบุคลากรที่มีสมรรถนะสูงในการพัฒนางานและรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ นำสู่การเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง

 

ประกอบกับการยกระดับบริการภาครัฐของ สวพส. ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เปิดกว้างเชื่อมต่อการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น และมุ่งพัฒนาให้เป็นองค์การสมรรถนะสูง ทำให้ สวพส. สามารถส่งมอบบริการให้ชุมชนบนพื้นที่สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการยกย่องจากหน่วยงานในระดับประเทศและนานาชาติ ตั้งแต่ปี 2562 – 2566 สวพส. ได้รับรางวัลแห่งเกียรติยศ “เลิศรัฐ” (Public Sector Excellence Awards; PSEA) และรางวัลเลิศรัฐสาขา การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ยังได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Department of Economic and Social Affairs – UN DESA) ประกาศให้โครงการ “Good Practice of Sustainable Highland Development: People Live in Harmony with Forest" ต้นแบบชุมชนอยู่ร่วมกับป่า โดยโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุ SDGs (SDG Good Practices) เป้าหมายที่ 2 12 13 และ 15 จากโครงการที่มีแนวปฏิบัติที่ดีและผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 465 โครงการทั่วโลก 

 

 

จากทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นสิ่งพิสูจน์รวมทั้งแสดงให้เห็นการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรระหว่างประเทศในแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการพัฒนาพื้นที่สูงว่า หลักการและวิธีการพัฒนาตามแนวทางโครงการหลวง (Royal Project Model) เป็นรูปแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกบริบทของพื้นที่และสถานการณ์ปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางกระแสโลกยุคผันผวน

ประกาศ มาตรการต่าง ๆ

คำถามที่พบบ่อย (FAQs)

PMQA 4.0

ตอบ PMQA

ตอบ การยกระดับการปฏิบัติงานขององค์กรให้สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และให้เกิดผลทางปฏิบัติในการพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ

ตอบ ต้องหาลักษณะสำคัญขององค์กร สภาพแวดล้อมความสัมพันธ์ และความท้าทายขององค์กรให้ได้ บุคลากรในองค์กรต้องมีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน หมายถึงต้องรู้พันธกิจ หน้าที่ วิสัยทัศน์ความสัมพันธ์กับองค์กรอื่นๆ ว่ามีอะไรบ้าง สัมพันธ์กันด้วยวิธีไหนอะไรบ้างคือความท้าทายขององค์กรที่จะฝ่าไปให้ได้

ตอบ
4.1 ลักษณะสำคัญขององค์การ ทำให้เข้าใจบริบทที่สำคัญขององค์กร ใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนา
4.2 ส่วนกระบวนการ (หมวด 1-6) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญขององค์กร มีองค์ประกอบของเกณฑ์ในแต่ละระดับ/แนวทางการดำเนินงาน
4.3 ส่วนผลลัพธ์ (หมวด 7) ผลการดำเนินการขององค์กร เพื่อสะท้อนผลลัพธ์ที่สำคัญในแต่ละด้าน

ตอบ แบ่งเป็น 3 มิติ
5.1 มิติเปิดกว้างเชื่อมโยงถึงกัน (Open & Connected Government)
5.2 มิติยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen-Centric Government)
5.3 มิติมีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย (Smart & High Performance Government)

ตอบ ปัจจัยความสำเร็จ 3 ประการ
6.1 Collaboration การสานพลังภาครัฐและภาคอื่น ๆ
6.2 Innovation การสร้างนวัตกรรม
6.3 Digitalization การปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัล

ตอบ มี 3 ระด้บ
7.1 ระดับพื้นฐาน (Basic) 300-399 คะแนน มีแนวทาง มีการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ เกิดประสิทธิผลที่ตอบสนองพันธกิจและหน้าที่ของส่วนราชการ
7.2 ระดับก้าวหน้า (Advance) 400-469 คะแนน มีแนวทางในทุกหมวด มีการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ เกิดประสิทธิผลที่ตอบสนองพันธกิจและหน้าที่ของส่วนราชการ เชื่อมโยงกับเป้าหมายของประเทศ พัฒนาตามแนวทางราชการ 4.0
7.3 ระดับพัฒนาจนเกิดผล (Significance) 470 – 500 คะแนน มีแนวทางในเรื่องสำคัญในทุกหมวดที่ครบถ้วน มีการถ่ายทอดอย่างเป็นระบบ เกิดประสิทธิผลที่ตอบสนองพันธกิจและหน้าที่ของส่วนราชการ เชื่อมโยงกับเป้าหมายของประเทศ บูรณาการทุกภาคส่วน พัฒนาตามแนวทางราชการ 4.0 จนเกิดผล

ตอบ
8.1 เกณฑ์ PMQA 4.0 แสดงรายละเอียดความหมายของเกณฑ์ PMQA4.0 ในแต่ละระดับ (Basic , Advance , Significance)
8.2 Checklist แสดงรายละเอียด Checklist การดำเนินงาน โดยจำแนกรายละเอียดในแต่ละระดับเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ 1) ส่วน Process และ 2) ส่วน Process Result
8.3 ความหมาย/เจตนารมณ์/แนวปฏิบัติ แสดงรายละเอียดความหมายของเกณฑ์ในแต่ละระดับเพื่อความเข้าใจและการดำเนินงานที่ถูกต้อง โดยแสดงรายละเอียดความหมายหลักการ และแนวปฏิบัติที่ดี

รางวัลคุณภาพ

ตอบ รางวัลเลิศรัฐ เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่มอบให้หน่วยงานที่ได้มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศแห่งหน่วยงานรัฐทั้งปวง โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) เป็นผู้ให้รางวัล

ตอบ รางวัลบริการภาครัฐ เป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่มอบให้กับหน่วยงานของรัฐที่มีผลการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ เพื่อประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และเป็นที่พึงพอใจ ดังนั้นหน่วยงานที่ได้รับรางวัลบริการภาครัฐ จึงถือได้ว่าเป็นหน่วยงานที่มีผลการทำงานในการยกระดับคุณภาพการให้บริการที่ประสบผลสำเร็จ และสามารถสร้างขวัญกำลังใจ รวมทั้งกระตุ้นให้หน่วยงานมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการทำหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น

ตอบ     รางวัลที่มอบให้กับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อสร้างแรงจูงใจ และสร้างขวัญกำลังใจในการเชิดชูผลการปฏิบัติราชการ โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม ตั้งแต่การให้ข้อมูลข่าวสาร (Inform) การรับฟังความคิดเห็น (Consult) การเข้ามาเกี่ยวข้อง (Involve)ไปจนถึงการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) รวมทั้งสร้างความภาคภูมิใจของผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนหรือผลักดันการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ อันนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริงและการนำไปสู่แนวปฏิบัติหรือต้นแบบที่ดี (Best Practice) โดยมุ่งเน้นทั้งกระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Result) การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม

กิจกรรมการยกระดับคุณภาพฯ

ปฏิทินการดำเนินงาน

ผลงานคุณภาพ

ผลงานเลิศรัฐ

ผลงานเลิศรัฐ ปี 2567

รางวัลเกียติยศเลิศ (Super เลิศรัฐ)*
*เป็นรางวัลที่มอบให้แก่หน่วยงานภาครัฐที่มีความโดดเด่นได้รับรางวัลเลิศรัฐอย่างต่อเนื่อง เป็นต้นแบบที่สร้างคุณค่า ในการสร้างสรรค์ผลงานการปฏิบัติราชการจนมีความสำเร็จอย่างยั่งยืน
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ระดับก้าวหน้า (Advance)*
*ผลการตรวจประเมินมีคะแนนรวมของทุกหมวดตั้งแต่ 400 คะแนน จึงจะได้รับรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 และได้รับการรับรองสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0 ระดับก้าวหน้า (Advance)
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

ผลงานระดับดีเด่น : ภูมิปัญญา (หัตถกรรม) แก้จน คนบนดอย*
*ประเภทร่วมใจแก้จน (Collaboration towards Poverty Eradication) ดำเนินการโดยสำนักงาน ป.ย.ป.: มอบให้กับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่มีผลงานหรือ โครงการเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างต่อเนื่อง
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

ผลงานระดับดีเด่น : ไม้ผลกินได้ สร้างป่า สร้างเงิน แก้จน คนสะเนียน*
*ประเภทร่วมใจแก้จน (Collaboration towards Poverty Eradication) ดำเนินการโดยสำนักงาน ป.ย.ป.: มอบให้กับหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่มีผลงานหรือ โครงการเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างต่อเนื่อง
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

ผลงานระดับดี :  Smart Farm คนจน ต้นเขื่อนสิริกิติ์*
*ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม (Effective Change) : มอบให้กับหน่วยงานภาครัฐที่ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานแบบมีส่วนร่วมในระดับการเข้ามาเกี่ยวข้อง ไปจนถึงระดับความร่วมมือ ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาที่มีผลกระทบสูงกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาขบในพื้นที่
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

ผลงานระดับดี : ผู้นำสตรีสิทธิเท่าเทียมชาย*
*สาขาบริการภาครัฐ ประเภทขับเคลื่อนเห็นผล : การขับเคลื่อนการดำเนินงาน หรือการให้บริการที่สอดคล้องกับบริบทของโลก ตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาล หรือ Agenda สำคัญของประเทศ
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

ผลงานระดับดี : ชุมชนคาร์บอนต่ำ กุญแจสำคัญ ลดโลกร้อน*
*สาขาบริการภาครัฐ ประเภทขับเคลื่อนเห็นผล : การขับเคลื่อนการดำเนินงาน หรือการให้บริการที่สอดคล้องกับบริบทของโลก ตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาล หรือ Agenda สำคัญของประเทศ
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

 

ผลงานเลิศรัฐ ปี 2566

ผลงานเลิศรัฐ ปี 2565

ผลงานระดับดีเด่น : ร่วมมือสร้างรายได้ ร่วมแรงใจให้ท้องอิ่ม สร้างรอยยิ้มชาวห้วยโทน
ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม และผู้นำหุ้นส่วนความร่วมมือ
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

ข้อมูล Feedback

ประเภทพัฒนาการบริการ
PMQA 4.0
PMQA รายหมวด
ประเภทรางวัลสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม (Effective Change)
ประเภทเลื่องลือขยายผล (Participation Expanded)

แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

United Nations Public Service Awards (UNPSA)

แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

เรื่องอื่นๆ

The King of Thailand Vetiver Awards

องค์กรโปร่งใส (Nacc Integrity Awards)

แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน

แหล่งที่มา : กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

องค์กรคุณธรรมต้นแบบ

แหล่งที่มา : กรมการศาสนา และศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)

ค่าของแผ่นดิน

NIAWARDS : National Innovation Awards

แหล่งที่มา : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เอกสารสำคัญ

รวมเล่มผลงานประจำปี / E-Book

การดำเนินงานคุณภาพ/เอกสารเผยแพร่

สรุปผลการยกระดับคุณภาพการบริการจัดการองค์กร ปีงบประมาณ 2567

สรุปผลการยกระดับคุณภาพการบริการจัดการองค์กร ปีงบประมาณ 2566

สรุปผลการยกระดับคุณภาพการบริการจัดการองค์กร ปีงบประมาณ 2565

สรุปผลการยกระดับคุณภาพการบริการจัดการองค์กร ปีงบประมาณ 2564

สรุปผลการยกระดับคุณภาพการบริการจัดการองค์กร ปีงบประมาณ 2563

สรุปผลการยกระดับคุณภาพการบริการจัดการองค์กร ปีงบประมาณ 2562

รายงานการวิเคราะห์โครงร่างองค์กรตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 (ฉบับย่อ)

รายงานการวิเคราะห์โครงร่างองค์กรตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

สืบสานการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน

เทคนิคการสมัครรับรางวัลเลิศรัฐสาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของ สวพส.

E-book สำนักงาน ก.พ.ร. ที่เกี่ยวข้อง

จากต้นแบบความเป็นเลิศสู่การขยายผลที่ยั่งยื่น
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 (PMQA 4.0) ประจำปี พ.ศ.2565
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ.2565
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

รางวัลบริการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ.2565
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ.2564
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

รางวัลบริการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ.2564
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ.2563
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

รางวัลบริการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ.2563
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี พ.ศ.2562
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

รางวัลบริการภาครัฐ ประจำปี พ.ศ.2562
แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

1. สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม : เอกสารและสื่อ 2568

แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

2. สาขาการบริการภาครัฐ : เอกสารและสื่อ 2568

แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

3. สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) : เอกสารและสื่อ 2568

แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

แบบฟอร์มการสมัครรางวัล PMQA  รายหมวด-ระดับดีเด่น

แบบฟอร์มการสมัครรางวัล PMQA 4.0

อ่าน: 667 ครั้ง