อยากปลูกกัญชง..ต้องทำอย่างไร?

"อยากปลูกกัญชง..ต้องทำอย่างไร?"

          ก่อนอื่น ต้องเข้าใจก่อนว่ากัญชงยังจัดอยู่ในยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ดังนั้น การปลูกต้องขออนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขเสียก่อน โดยทำตาม “กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563” ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

ใครบ้างที่สามารถขออนุญาตปลูกกัญชงได้ ?

1.บุคคลธรรมดา

     (ก) มีสัญชาติไทย

     (ข) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์

     (ค) มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

     (ง) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

     (จ) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

     (ฉ) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างการถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

     (ช) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหยหรือกฎหมายว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

2.นิติบุคคลต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย

     (ก) ต้องมีลักษณะตาม 1. (จ) (ฉ) และ (ช)

     (ข) ผู้แทนของนิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลต้องมีลักษณะตามบุคคลธรรมดา

     (ค) กรรมการของนิติบุคคล หุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อยสองในสามเป็นผู้มีสัญชาติไทย

     (ง) มีสำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย

3.วิสาหกิจชุมชนที่ไม่เป็นนิติบุคคล

     - มีลักษณะเดียวกับบุคคลธรรมดา

4.หน่วยงานของรัฐ

     - ต้องมีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชงตามภารกิจของหน่วยงานนั้นๆ

การขออนุญาตเพื่อวัตถุประสงค์อะไรได้บ้าง ?

          วัตถุประสงค์ในการขออนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) มี 6 วัตถุประสงค์ ได้แก่

  1.      1. เพื่อประโยชน์ตามภารกิจของหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่เป็นภารกิจตาม 2, 3, 4, 5 หรือ 6 ให้หน่วยงานของรัฐขออนุญาตตามวัตถุประสงค์นั้น แล้วแต่กรณี
  2.      2. เพื่อการใช้ประโยชน์จากเส้นใยตามประเพณี วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิต และใช้ในครอบครัวเท่านั้น ทั้งนี้ มีพื้นที่ปลูกได้ครอบครัวละไม่เกินหนึ่งไร่
  3.      3. เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม
  4.      4. เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์
  5.      5. เพื่อประโยชน์ในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย หรือปรับปรุงพันธุ์
  6.      6. เพื่อประโยชน์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรอง
  7. ส่วนการขออนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งกัญชง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อ 1, 3, 4, 5 หรือ 6 โดยไม่รวมการใช้ประโยชน์จากเส้นใยตามประเพณี

  8. เอกสารที่ต้องเตรียม

    1.      1. แบบคำขอรับอนุญาต (แบบกัญชง 1)
    2.      2. แผนการผลิต แผนการใช้ประโยชน์
    3.      3. แผนที่แสดงที่ตั้งสถานที่ปลูกและเส้นทางการเข้าถึง
    4.      4. หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิทธิครอบครอง
    5.      5. แบบแปลนอาคารโรงเรือน และภาพถ่าย
    6.      6. เอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมอื่น ๆ
    7. หมายเหตุ: ในการขออนุญาตต้องชี้แจงที่มาของเมล็ดพันธุ์กัญชง ว่าผู้ขออนุญาตใช้พันธุ์อะไรและแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์จากที่ไหน หากผู้ขออนุญาตจะใช้เมล็ดพันธุ์กัญชงจากของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สามารถติดตามขั้นตอนการขอซื้อเมล็ดได้จาก https://www.hrdi.or.th/PublicService/HempInfo

    8. วิธีการดำเนินการขออนุญาตทำอย่างไร?

    9. ขั้นตอนการพิจารณาออกใบอนุญาตของ อย. มีดังนี้

      1. 1. ตรวจสอบคำขอและสถานที่

           - กรุงเทพฯ ผู้ตรวจสอบ คือ เจ้าหน้าที่คณะกรรมการอาหารและยาเป็น

           - จังหวัดอื่น ผู้ตรวจสอบ คือ เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสารธารณสุขจังหวัด

    10. 2.เสนอคณะกรรมการพิจารณา ใน 2 คณะกรรมการได้แก่

      •      - คณะกรรมการระดับจังหวัด
      •      - คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
      • 3. ออกใบอนุญาตโดยกระทรวงสาธารณสุข

 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
ดร.รัตญา ยานะพันธุ์

ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง