รู้จักกับสายพันธุ์งาขี้ม่อนบนพื้นที่สูง

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง หรือ สวพส. ทำการคัดเลือกพันธุ์ และขึ้นทะเบียนพันธุ์งาขี้ม่อน หรืองาหอมเพื่อให้เกษตรกรได้พันธุ์งาที่มีคุณภาพสำหรับปลูกเพื่อสร้างรายได้  โดยทำการสำรวจและรวบรวมพันธุ์งาขี้ม่อนพื้นเมืองจากเกษตรกร จำนวน 13 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา ตาก แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ เลย สุโขทัย และประเทศพม่า รวบรวมได้ตัวอย่างทั้งหมด 63 ตัวอย่าง จากนั้นนำมาปลูกทดการเจริญเติบโตและผลผลิต ทำการคัดเลือกแบบรวม (mass selection) ที่สถานีเกษตรหลวงปางดะ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

การทดสอบรุ่นที่ 1  เดือนมิถุนายน 2561 - มกราคม 2562 จำนวน 63 สายพันธุ์ จากการเก็บรวบและปลูกทดสอบพบว่าแต่ละแหล่งมีความหลากหลายภายในประชากรสายพันธุ์เดียวกันสูงมาก เช่นลักษณะความสูง วันออกดอก วันเก็บเกี่ยว และสีของลำต้น ดังนั้นจึงทำการศึกษาเพื่อศึกษาและจัดกลุ่มประเภทงาขี้ม่อนสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ งาดอ (พันธุ์เบา) งากลาง และงาปี (พันธุ์หนัก) และมีเกณฑ์การคัดเลือกคือคัดจากสายพันธุ์ที่ให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันโอเมก้า 3 มากกว่าร้อยละ 60 และมีปริมาณผลผลิตต่อพื้นที่สูง ลักษณะทรงต้น ความสูง วันออกดอก และช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวเท่ากัน ได้ทั้งหมด 24 สายพันธุ์

การปลูกทดสอบรุ่นที่ 2 เดือนมิถุนายน 2562 – มกราคม 2563 จำนวน 24 สายพันธุ์ และทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ลักษณะองค์ประกอบผลผลิตสูง ลักษณะทรงต้น ความสูง วันออกดอก และช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวเท่ากัน ได้ทั้งหมด 8 สายพันธุ์ ได้แก่ CR10-3 CM4-3 NN4-3 NN8-3 MH8-3 MH9-3 PA3-3 และDOA 8-3

การปลูกทดสอบรุ่นที่ 3 เดือนมิถุนายน 2563 – มกราคม 2564 ในแปลงของเกษตรกร ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลแตกต่างกัน จำนวน 5 พื้นที่ระหว่าง 486 - 1,048 เมตร เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีผลผลิตสูง ลักษณะทรงต้น ความสูง วันออกดอก และช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวเท่ากัน สามารถคัดเลือกได้ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ CR10-4 NN8-4 MH9-4 และ DOA 9-4 ได้ดำเนินการขอขึ้นทะเบียนพันธุ์งานขี้ม่อนทั้ง 4 สายพันธุ์ ซึ่งประกอบไปด้วย งาดอ (พันธุ์เบา) จำนวน 1 สายพันธุ์ งากลาง 2 สายพันธุ์ และงาปี (พันธุ์หนัก) 1 สายพันธุ์ โดยมีรายละเอียดดังตาราง

 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
อดิเรก ปัญญาลือ และ ธัญพิสิษฐ์ ใจแข็ง

ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง