3 ช่องทางง่ายๆ เข้าถึง “ความรู้งานวิจัย”

  1. 1. ระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้จากงานวิจัยบนพื้นที่สูง ในรูปแบบเว็บไซต์ (https://rsdb.hrdi.or.th)

ค้นหาจากเว็บไซต์ พิมพ์ “องค์ความรู้จากงานวิจัยบนพื้นที่สูง”

รูปแบบการจัดการฐานข้อมูลงานวิจัย เป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย (1) ฐานข้อมูลรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (2) องค์ความรู้จากงานวิจัย และ (3) ผลงานวิจัยเด่น ให้เหมาะสมกับผู้ใช้ประโยชน์ 

1) ฐานข้อมูลรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (e – Research Report) เพื่อเก็บรวบรวมไฟล์รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2557-2564 จำนวน 509 โครงการ

2) องค์ความรู้จากงานวิจัย เป็นการประมวลองค์ความรู้งานวิจัยหมวดหมู่ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่าย จัดทำในรูปแบบ Infographic คลิปวีดีโอ คู่มือ โปสเตอร์ เป็นต้น ช่วยให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและเข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที กลุ่มเป้าหมาย/ ผู้ได้ประโยชน์ เช่น นักพัฒนา เกษตรกร และบุคคลทั่วไป จำนวน 156 เรื่อง

3) ผลงานวิจัยเด่น เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยที่มีผลกระทบสูง มีการนำไปใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชุมชน รวมถึงสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและสอดคล้องกับนโยบาย โดยมีกลุ่มเป้าหมาย/ ผู้ได้ประโยชน์ ได้แก่ ผู้บริหาร และบุคคลทั่วไปและคัดเลือกผลงานเด่น และนำเสนอผลงานวิจัยบนหน้าหลักของระบบฐานข้อมูลงานวิจัย จำนวน 17 เรื่อง

2. การเผยแพร่บทความวิจัยผ่านช่องทางออนไลน์ เฟสบุ๊ค KM งานวิจัย สวพส. (https://www.facebook.com/KMHRDI)

การเผยแพร่องค์ความรู้งานวิจัยและบทความวิจัย เฟสบุ๊ค KM งานวิจัย สวพส. ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่าย เข้าถึงสะดวก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย  ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารด้วยการถาม-ตอบในเรื่องที่สนใจผ่านการเขียนแสดงความคิดเห็น หรือ สนทนาผ่านกล่องข้อความ Facebook Messenger ได้ ซึ่งผู้ดูแลระบบ Admin จะคอยตอบ หากเป็นประเด็นความรู้เฉพาะจะส่งต่อให้นักวิจัยช่วยให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้

3. ไลน์ของดีพื้นที่สูง (https://lin.ee/vbnjJO8)

การเผยแพร่องค์ความรู้งานวิจัยและบทความวิจัย ผ่านช่องทาง ไลน์ของดีบนพื้นที่สูง พัฒนาเครื่องมือสำหรับการบริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ ประกอบด้วยเมนูดังนี้

  • 1. เมนูองค์ความรู้บนพื้นที่สูง คือ เมนูแสดงถึงองค์ความรู้บนพื้นที่สูงของมูลนิธิโครงการหลวง และองค์ความรู้ของสถาบัน โดยแสดงข้อมูลเป็นหมวดหมู่องค์ความรู้รายสาขา เช่น พืชผัก ไม้ผล พืชไร่ พืชเครื่องดื่ม ปศุสัตว์
  • 2. ข้อมูลข่าวสาร คือ เมนูแสดงข้อมูลข่าวสารสำคัญและกิจกรรมต่างๆ
  • 3. เมนู MEHigh ภูมิอากาศบนพื้นที่สูง คือ บริการข้อมูลสภาพภูมิอากาศแบบ Real Time เพื่อการเกษตรอัจฉริยะบนพื้นที่สูง โดยแสดงข้อมูลปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ความชื้นสัมพันธ์ ความเร็วลม และทิศทางลมแบบเฉพาพพื้นที่
  • 4. เกษตรกรผู้นำ คือ เมนูแสดงและรวบรวมผลงานเด่นของเกษตรกรผู้นำ (Smart Farmer) โดยแบ่งตามพื้นที่กลุ่มของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง
  • 5. ลงทะเบียน ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์ร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสถาบันฯ

เมนูทั้งหมดในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่าย  ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารด้วยการถาม-ตอบในเรื่องที่สนใจผ่านการสนทนารายบุคคลได้ ซึ่งผู้ดูแลระบบ Admin จะคอยตอบ เช่นเดียวกับ เฟสบุ๊ค ปัจจุบันมีองค์ความรู้งานวิจัยและบทความวิจัยเผยแพร่ผ่านช่องทางเฟสบุ๊ค KM งานวิจัย สวพส. และไลน์ของดีบนพื้นที่สูงมากกว่า 80 เรื่อง

 

 

 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
เขียน/เรียบเรียงโดย นฤมล ศรีวิขัย จิราวรรณ ปันใจ แพรวมณี ศรีแสง

ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง