พันธุ์กระเทียมไทย

กระเทียม (Garlic)

เป็นพืชสมุนไพรและเครื่องเทศชนิดที่นิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารไทย ซึ่งอุดมไปด้วยไฟโตนิวเทรียนท์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มออร์แกโนซัลเฟอร์ โดยสารที่พบในกระเทียมมากที่สุดคือ สารอัลลิอิน ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นสารอัลลิซิน เมื่อกระเทียมถูกทุบหรือสับให้แตก โดยสารนี้อยู่ในน้ำมันหอมระเหยของกระเทียมที่มีสรรพคุณช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลในเลือดและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

 

การจำแนกพันธุ์กระเทียมไทย

 

ตัวอย่างพันธุ์กระเทียมไทยที่นิยมปลูกในปัจจุบัน

 

คุณค่าทางโภชนเภสัชในกระเทียมดิบ 100 กรัม ประกอบด้วย

รายการ ปริมาณ
พลังงาน 149 กิโลแคลอรี
น้ำ 58.6 กรัม
โปรทีน 5.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 6.4 กรัม
ไขมัน 0.5 กรัม
โฟเลท 3.1 ไมโครกรัม
ใยอาหาร 2.1 กรัม
แคลเซียม 181 มิลลิกรัม
แมกนีเซียม 25 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 153 มิลลิกรัม
ธาตุโพแทสเซียม 401 มิลลิกรัม
รายการ ปริมาณ
ธาตุแมงกานีส 1.67 มิลลิกรัม
ธาตุสังกะสี 1.16 มิลลิกรัม
ธาตุซีลีเนียม 14.2 ไมโครกรัม
ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 5 ไอยู
วิตามินบี 1 0.2 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม
วิตามินบี 3 0.7 มิลลิกรัม
วิตามินบี 5 0.59 มิลลิกรัม
วิตามินบี 6 1.23 มิลลิกรัม
วิตามินซี 31.2 มิลลิกรัม
 

ประโยชน์ของกระเทียมต่อสุขภาพ

ลดระดับไขมันในเลือด
ลดความดันโลหิต
ลดอาการไอและช่วยขับเสมหะ
มีฤทธิ์เป็นยาปฎิชีวนะ ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิด
ทำให้เกล็ดเลือดเกาะตัวเป็นลิ่มลดลง ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค
ช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
ดร.จันทร์จิรา รุ่งเจริญ

ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง