สารสกัดกัญชง (CBD Hemp oil)

สารสกัดกัญชง (CBD Hemp oil)

          สาร CBD (Cannabidiol) และTHC (Tetrahydrocannabinol) จัดเป็นสารในกลุ่มคานนาบินอยด์ (Cannabinoids) ที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ พบในพืชสกุล Cannabis คือ กัญชา (Marijuana) และ กัญชง (Hemp) โดยสารสำคัญ THC และ CBD มีมากในส่วนของช่อดอก สกัดได้จากช่อดอก ไม่ใช่น้ำมันหรือการสกัดจากเมล็ดกัญชง

          CBD ไม่จัดเป็นยาเสพติด เป็นสารที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท (Non-psychoactive) ไม่ทำให้มึนเมา โดยออกฤทธิ์เพื่อการคลายเครียด ปกป้องเซลล์ประสาท ต้านชัก แก้ปวด ฤทธิ์ต้านเนื้องอก ต้านอาการอักเสบ ต้านฤทธิ์ต่อจิตประสาท และ CBD ไม่ทำให้เกิดการดื้อหรือติด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา และอาหาร

          ส่วน THC จัดเป็นสารเสพติดประเภทที่ 1 (องค์การอนามัยโลก) มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psychoactive) ทำให้เคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย ทำให้ง่วง หลับง่าย กระตุ้นการอยากอาหาร ต้านปวด ต้านอาเจียน และคลายกล้ามเนื้อ แต่ทำให้เสพติดได้

          กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ สารสกัด CBD ที่มี THC ไม่เกิน 0.2% ไม่เป็นยาเสพติด สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ได้แก่ ทางการแพทย์ การศึกษาวิจัย ทำผลิตภัณฑ์ เช่น ยา อาหาร สมุนไพร และเครื่องสำอาง โดยมีข้อแม้ให้สารสกัดดังกล่าว จะต้องได้จากกัญชงหรือกัญชาที่ผลิตภายในประเทศเท่านั้นหากเป็น CBD ที่ได้จากการนำเข้ายังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ดังนั้นถ้าต้องการใช้ CBD ต้องปลูกกัญชง หรือกัญชาเองในประเทศไทย

CBD กับ คุณสมบัติทางยา

  •           CBD มีกลไกการออกฤทธิ์ทำให้สามารถลดอาการปวด อาการอักเสบ ลดความกังวล และควบคุมอาการชักได้ โดยไม่มีความเป็นพิษต่อระบบประสาท CBD สามารถช่วยลดอาการอักเสบในร่างกาย ลดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ และยังช่วยรักษาโรคหลอดเลือดและหัวใจ การศึกษาเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ที่สามารถรักษาด้วย CBD พบว่า CBD มีสรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพหลายอย่าง เช่น
  •            * ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัดเมื่อใช้ยามาตรฐานไม่ได้ผล
  •           * ลดอาการเบื่ออาหารน้ำหนักลดในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  •           * โรคลมชักรุนแรงสองชนิดที่ชื่อว่า Lennox-Gastaut syndrome และ Dravet syndrome
  •           * ควบคุมอาการปวดเรื้อรัง รักษาอาการปวดจากโรคปลอกประสาทอักเสบ (โรคเอ็มเอส) ลดปวดและคลื่นไส้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งข้อบ่งชี้ของทางออสเตรเลียกำหนดไว้ว่าให้ใช้เมื่อการรักษามาตรฐานยังได้ผลไม่ดีเท่านั้น
  •           * บรรเทาอาการลมบ้าหมู
  •           * บรรเทาอาการของโรค ALS หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  •           * บรรเทาอาการพาร์์กิินสััน (อาการสั่น)
  •           * ลดปัญหาสิวและอาการผิวแห้ง
  •           * บรรเทาอาการซึมเศร้า
  •           * ลดอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลดในผู้ติดเชื้อ HIV
  •           * บรรเทาอาการโรคเบาหวาน
  •           * บรรเทาอาการทางจิตเภทต่่าง ๆ
  •           * บรรเทาอาการลงแดงจากสารเสพติดอื่น ๆ
  •           * บรรเทาและป้องกันโรคหัวใจ
  •           ข้อมูลอ้างอิง  www.rama.mahidol.ac.th, www.krungsri.com

  • CBD กับ อาหาร

  •           ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 429 (27 ส.ค.2564) ได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อาหาร จะต้องมี CBD ได้ไม่เกิน 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ppm) และ THC ไม่เกิน 0.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 4 ประเภทอาหาร คือ
    1.           1. ผลิตภัณฑ์เสริม ชนิดเม็ด แคปซูล และของเหลว
    2.           2. เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรสอัดก๊าซ
    3.           3. เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรสไม่อัดก๊าซ
    4.           4. เครื่องดื่มธัญชาติ (Cereal and grain beverages)
    5.           ผลิตภัณฑ์อาหารที่นำ CBD มาเป็นส่วนประกอบ เช่น เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เสริมหาอาหาร ซึ่งในต่างประเทศนำ CBD เป็นส่วนผสมในอาหารหลากหลายชนิด เช่น น้ำดื่ม เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ขนมขบเคี้ยว
    6. CBD กับ เครื่องสำอาง

    7.           ในด้านความสวยความงาม สาร CBD มีคุณสมบัติต่อต้านอาการอักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ฟื้นบำรุง และปกป้องผิวจากมลภาวะและแสงแดด ช่วยเพิ่มคอลลาเจนฟื้นฟูผิวให้เรียบเนียน กระตุ้นการผลัดเซลล์ และสร้างผิวใหม่ ลดรอยแดง รอยดำดูจางลง พร้อมเติมความชุ่มชื้นให้ผิว ทำให้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ CBD เป็นสินค้าขายดีในทั่วทุกมุมโลก สำหรับประเทศไทยกฎหมายเปิดให้ใช้ CBD ในเครื่องสำอางพร้อมใช้ทุกประเภทได้ไม่เกิน 1.0% โดยห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในช่องปากหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้บริเวณจุดซ่อนเร้น วัตถุดิบที่ใช้ต้องมีสาร THC ปนเปื้อนไม่เกิน 0.2% และในกรณีเครื่องสำอางพร้อมใช้รูปแบบน้ำมัน หรือ soft  gelatin capsules จะต้องมีสาร THC ปนเปื้อนไม่เกิน 0.001% (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข 11 พ.ค.2564)

    8. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่มี CBD เป็นส่วนประกอบ เช่น ครีม โลชั่น สบู่ แชมพู ลิปบาล์ม รวมทั้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร เช่น ยาหม่อง
    9. กฎหมายของไทยแบ่งแยกกัญชงและกัญชาออกจากกันแล้ว ถ้าจะผลิต CBD จะปลูกกัญชงหรือกัญชากันดี? มาดูความต่างและเลือกพันธุ์ปลูกกันเองได้
    10.           สวพส. และมูลนิธิโครงการหลวง อยู่ระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ให้กัญชงที่มีปริมาณ CBD สูง และTHC ต่ำกว่า 1.0% ซึ่งในปัจจุบัน พบสายพันธุ์ที่มีปริมาณ CBD เพิ่มสูงขึ้นในช่วง 5-15 % โดยอยู่ระหว่างขั้นตอนการปลูกทดสอบและปรับปรุงพันธุ์ โดยมีเป้าหมายให้ได้พันธุ์ที่มีปริมาณ CBD 20% ภายในปี พ.ศ. 2570 และปัจจุบัน มีพันธุ์กัญชงที่ขึ้นทะเบียนพันธุ์แล้วจำนวน 8 พันธุ์ ดังนี้

    11.           กรกรนก และ คณะ (2563) ศึกษาปริมาณสารแคนนาบินอยด์ในตัวอย่างวัตถุดิบใบกัญชง วัตถุดิบดอกกัญชง และสารสกัดช่อดอกกัญชงที่สกัดด้วยเอทอนอลอุณหภูมิต่ำ (ร้อยละผลผลิต 7.98%) ของกัญชงพันธุ์ RPF3 ดังนี้

  •  
 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
สริตา ปิ่นมณี นักวิจัย
แหล่งที่มา / เอกสารอ้างอิง:

 กรกนก อิงคนินันท์ ปณัฐพงศ์ บุญนวล สุดาพร วงศ์วาร อรระวี คงสมบัติ พรนรินทร์ เทพาวราพฤกษ์ เนติ วรนุช เพ็ญศรี เจริญสิทธิ์ วุฒิชัย วิสุทธิพรต มนุพัศ โลหิตนาวี และ พีรศักดิ์ ฉายประสาท. 2563. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การวิจัยและพัฒนากัญชงเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์. 406 หน้า


ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง