สรุปผลการดำเนินงานโครงการ“รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน”

โครงการ“รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน” ภายใต้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นสูง (องค์การมหาชน) ได้จัดการประชุมสรุปผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส เชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 โดยมี นายศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ ที่ปรึกษาด้านการวางแผนและพัฒนาการเกษตร เป็นผู้แทนปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยมีเกษตรและสหกรณ์จังหวัด 7 จังหวัด มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 150 คน สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ได้นำเสนอผลงานเด่นในพื้นที่โครงการ“รักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน” และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้นำเสนอรายงานการศึกษาโครงการประเมินกึ่งกลางแผนแม่บทโครงการฯ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) พบว่า พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น พื้นที่บุกรุกป่าลดลง มีการจัดทำแผนและมีการใช้ประโยชน์ที่ดินถูกต้องตามแผนมีการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์และดูแลรักษามีศูนย์เรียนรู้ในแต่ละลุ่มน้ำและมีการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และมีการติดตามงานทั้งจากส่วนกลางและระดับปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ การประชุมมีประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากร ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เพื่อนำไปปรับปรุงงานได้ดีและเร็ว เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ได้รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของโครงการฯ รวมถึงประเด็นปัญหา เพื่อให้ที่ประชุมทราบและให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้แนวทางแก้ไขและเป็นการ บูรณาการงานร่วมกัน ดังนี้ 

 
 

1. ควรทำกลยุทธ์รายหมู่บ้าน ซึ่งปัญหาและความต้องการไม่เหมือนกัน เน้นหมู่บ้านเป้าหมายหลักและทำต่อเนื่อง มีจุดเด่นรายพื้นที่

2. ควรให้ความสำคัญในการกระจายรายได้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของชุมชน

3. ยกระดับคุณภาพของผลผลิต การสร้างอัตลักษณ์ของผลผลิต/สินค้า เพื่อลดการแข่งขันและได้ราคาดี

4. เพิ่มมูลค่าจากการแปรรูป คุณค่าทางโภชนาการ และประยุกต์ Zero Waste Technology ฯลฯ อาจเพิ่มความเข้มข้นในการสร้างรายได้เชิงพาณิชย์นอกเหนือจากเป็นรายได้เสริม

5. เชื่อมโยงแหล่งผลิตเป็นเครือข่ายกับแหล่งตลาด เพิ่มความมั่นคงของผลผลิตและการตลาด

6. บริหารจัดการระหว่างกลุ่ม เพิ่มอำนาจการต่อรอง และจัดการด้านโลจิสติกส์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้

7. การให้ความสำคัญการบันทึกข้อมูลผลผลิตของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อวิเคราะห์ปรับปรุงงาน

8. ส่งเสริมการตลาดผ่านสื่อ อาจเป็น Platform ของโครงการ “รักษ์น้ำ”

9. ใช้แผนที่ดินรายแปลง แผนชุมชน และแผนของหน่วยงานเป็นเครื่องมือบูรณาการหน่วยงาน และการพัฒนาและอนุรักษ์ ควรนำเสนอผลงานลงในแผนที่เป็นฐานข้อมูลกลาง

10. ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ควรเป็นศูนย์มีชีวิตที่มีการทำงานต่อเนื่อง มีเกษตรกรเป็นวิทยากร ควรทำทะเบียนผู้มาเรียนรู้ และติดตามการนำไปใช้ประโยชน์ เป็นผลกระทบของโครงการ

11. รายงานและผลงานเชิงประจักษ์จะสร้างศรัทธาให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และทรัพยากรจากท้องถิ่น จังหวัด และหน่วยงานมากขึ้น

12. นำผลการประเมินกึ่งกลางแผนไปปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานในช่วงแผนแม่บทที่เหลือ และเตรียมการจัดทำแผนแม่บทระยะต่อไป โดยให้มีส่วนร่วมของทางพื้นที่มากขึ้น และให้คำจำกัดความของเป้าหมายให้ชัดเจน เช่นการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ศูนย์เรียนรู้ชุมชน สวัสดิการสังคมเชิงบูรณาการ ฯลฯ และเตรียมตัวชี้วัดอื่นที่วัดระดับผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบมากขึ้น เช่น ความคุ้มค่า ของการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐาน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ฯลฯ

13. หน่วยงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ และใช้งบปกติของหน่วยงาน ควรประเมิน งบประมาณที่ใช้ตามเนื้องาน เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของงบบูรณาการ

14. ทำน้อยได้มาก ตอบหลายยุทธศาสตร์ (กรณีปลูกผักอินทรีย์ ปลูกไม้ผลในแปลงพืชไร่) ซึ่งได้ตอบทั้งยุทธศาสตร์รายได้ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

 
รูปภาพงานเด่นในพื้นที่
 
แผนที่เส้นทางการตลาด
ระบบ Logistics ชุมชน ลดการสูญเสีย
 

กิจกรรม สวพส. เพิ่มเติม