อนุกรรมการพัฒนาติดตามความก้าวหน้างานวิจัยและพัฒนา จ.เชียงราย

นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการสถาบันนำทีมอนุกรรมการพัฒนาลงติดตามความก้าวหน้างานวิจัยและงานพัฒนา รวมถึงการเชื่อมโยงทางด้านการตลาด ซึ่งจะก่อให้เกิดความก้าวหน้าในการพัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง
กลุ่มพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งประกอบด้วยโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยก้างปลา วาวี และแม่สลอง

          (7-9 มี.ค. 67) นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการสถาบันนำทีมคณะอนุกรรมการพัฒนา ลงพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยก้างปลา ได้ให้ข้อเสนอแนะ ในเรื่องขยายการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อบูรณาการทำงานและงบประมาณซึ่งจะส่งผลให้สามารถสรรหางบประมาณมาช่วยในการพัฒนาช่วยเหลือเกษตรกรและชุมชนได้มากขึ้น ดั่งเช่น โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยก้างปลาที่ได้ MOU ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เกิดโครงการสนับสนุนการพัฒนากว่า 7 โครงการ และเสนอให้จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะเพื่อเป็นสถานที่สำหรับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่อยากจะมาเรียนรู้และศึกษาดูงาน

          

          ต่อมาคณะอนุกรรมการพัฒนาได้ลงพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สลอง ได้ให้ข้อเสนอแนะเรื่อง การพัฒนาและการปลูกกาแฟโดยเฉพาะการเอาเทคโนโลยีจากประเทศจีนมาปรับใช้ ซึ่งได้มอบหมายให้ทางสถาบันได้เชื่อมโยงกับหน่วยให้ทุนวิจัยก็คือ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.ในการศึกษาการบริหารจัดการที่ดีตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งถึงแปรรูปกาแฟด้วยเทคโนโลยีของประเทศจีน เพื่อที่จะเอามาปรับใช้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟของสถาบัน ในขณะเดียวกันมอบหมายสถาบันคัดเลือกเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ เจ้าหน้าที่ เพื่อไปเรียนการพัฒนาการปลุกตลอดจนกระบวนการแปรรูป กับทางมหาวิทยาลัยที่ประเทศจีน ในขณะเดียวก็หมอบหมายว่าสถาบันควรจะจับมือกับหลายๆภาคส่วนทั้งภาครัฐแลเอกชนในการที่จะจัดงานที่เรียกว่า CoffeeExpoเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการผลิตการปลูกการแปรรูปรวมไปถึงช่องทางตลาดต่างๆด้วย เพราะฉะนั้นงานCoffeeExpoนี่ก็น่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตั้งแต่ระดับเกษตรกรจนกระทั่งถึงผู้ประกอบการ

          สุดท้ายนี้อนุกรรมการพัฒนาได้เห็นความก้าวหน้าเห็นการเปลี่ยนแปลงของเกษตรกรมีพัฒนาการ และมีความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการขยายความรู้การทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เผา ไปยังสมาชิกอื่น ๆ ในชุมชน ก่อเกิดการสร้างได้ให้กับคนในชุมชนและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นพิสูจน์ได้ว่าการทำงานของเจ้าหน้าที่ของสถาบัน เป็นการทำงานที่เข้าถึงตัวเกษตรกรจริงๆ

กิจกรรม สวพส. เพิ่มเติม