สวพส.วิจัยและพัฒนาพืชท้องถิ่นหนุนสร้างเศรษฐกิจชุมชน

สวพส.วิจัยและพัฒนาพืชท้องถิ่นหนุนสร้างเศรษฐกิจชุมชนพื้นที่สูง

วันที่ 1 มีนาคม 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ผลักดันการวิจัยและพัฒนาพืชท้องถิ่นและพืชสมุนไพรบนพื้นที่สูง โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านสถานการณ์ โอกาส และความต้องการตลาดของพืชสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพรของไทยและของโลก เรื่อง “ทิศทางและโอกาสของพืชท้องถิ่นและพืชสมุนไพรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นที่สูง” โดย นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง และได้รับเกียรติจาก นายสุทัศน์   ปลื้มปัญญา อนุกรรมการพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสมุนไพรของสหประชาชาติ และคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  ผู้แทนจากหน่วยงานและผู้ประกอบการด้านพืชสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ดังนี้

- บริษัท อุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน จ้ากัด (พืชสมุนไพรให้กลิ่น น้้ามันหอมระเหย)

- บริษัท เค.บี.เอ็ม เทคโนโลยีส์ จ้ากัด (ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยาดมเขย่า)

- บริษัท สเปเชียลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จ้ากัด (มหาชน) (สารสกัดสมุนไพร นวัตกรรมด้านสุขภาพและความงาม)

- บริษัท ฮิลล์คอฟฟ์ จ้ากัด (แนวคิด Forest food product)

- บริษัท นอร์ทเทิร์นกรีนเอ็นเตอร์ไพรส์ จ้ากัด (ผลิตภัณฑ์ผักและสมุนไพรอบแห้ง)

- สถาบันวิจัยสมุนไพร (มาตรฐานสมุนไพรและเภสัชต้ารับ/การตรวจวิเคราะห์คุณภาพ)

- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ (พรบ. ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและมาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพร)

นอกจากนี้ยังมีผู้แทนเกษตรกร ผู้รู้ด้านพืชสมุนไพร และผู้รวบรวมสมุนไพร จากพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่

นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวว่า สวพส.พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรม จากความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง ซึ่งเน้นการศึกษารวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนานวัตกรรม ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สร้างรายได้ และ ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูง โดยในระยะที่ผ่านมา สวพส. มีการศึกษารวบรวม ความหลากหลายของชนิดพืชท้องถิ่นและภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ใน 60 ชุมชน 10 กลุ่มชาติพันธุ์ มีจำนวน 6,728 องค์ความรู้ และตำรับยาพื้นบ้าน 270 ตำรับ จากพืชกว่า 1,820 ชนิด แบ่งเป็น พืชอาหาร 680 ชนิด พืชสมุนไพร 858 ชนิด พืชสีย้อมธรรมชาติ 36 ชนิด พืชพิษ จำนวน 48 ชนิด พืชใช้สอยอื่นๆ 198 ชนิด รวมทั้งเห็ด 158 ชนิด นอกจากนี้มีการวิจัยและพัฒนาต่อยอดการใช้ประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) ให้กับพืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพ โดยใช้เป็นวัตถุดิบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร (Pharmaceutical) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Nutraceuticals) เวชสำอางและเครื่องสำอาง (Cosmetics and cosmeceutical) เช่น ชาอัสสัม หญ้าถอดปล้อง ฟักข้าว มะแขว่น กัญชง งาขี้ม้อน ไพล ตะไคร้ต้น สีฟันคนทา ฝาง ว่านน้ำ ตะไคร้ต้น มะแตก หญ้าเอ็นยืด ค้างคาวดำ สังหยู รางจืดแดง และส้มกุ้ง เป็นต้น รวมทั้งมีพืชท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการนำมาเพาะปลูกสร้างรายได้ ให้กับชุมชนบนพื้นที่สูง เช่น บุก ต๋าว หมาก เชียงดา หน่อไม้น้ำ ลิงลาว หวาย มะขามป้อม ปู่เฒ่าทิ้งไม้เท้า หญ้าหวาน เนียมหอม เลือดมังกร และตีนฮุ้งดอย เป็นต้น

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้ เป็นการผลักดันการวิจัยและพัฒนาพืชท้องถิ่นและพืชสมุนไพรบนพื้นที่สูงที่มีคุณค่าบนพื้นที่สูง สู่การสร้างเศรษฐกิจชุมชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ของประเทศอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สวพส.สามารถเรียนรู้และมีแนวทางการวิจัยสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรในอนาคต เข้าใจถึงสถานการณ์ โอกาส และความต้องการตลาดของพืชสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิรวมทั้งสร้างโอกาสและทางเลือกให้กับเกษตรกรบนพื้นที่สูงในการเพาะปลูกพืชท้องถิ่นและพืชสมุนไพรเพื่อใช้ประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน อย่างเป็นรูปธรรม

กิจกรรม สวพส. เพิ่มเติม