เร่งแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ และฝุ่นควัน PM 2.5

การประชุมคณะกรรมการโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง กลุ่ม 3 ลุ่มน้ำน่าน ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง กลุ่ม 3 ลุ่มน้ำน่าน สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จัดการประชุมคณะกรรมการโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง กลุ่ม 3 ลุ่มน้ำน่าน ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันพุธ ที่ 24 มกราคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมบอลลูน โรงแรมน่านกรีนเลควิว รีสอร์ท ตำบลไชยสถาน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยมี นายเทวา ปัญญาบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วย นางสาวทินรัตน์ พิทักษ์พงศ์เจริญ รองผู้อำนวยการสถาบัน ด้านบริหารจัดการ ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ตามแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) นายอดิเรก อินต๊ะฟองคำ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักพัฒนา และนายชวลิต สุทธเขตต์ รักษาการหัวหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง กลุ่ม 3 ลุ่มน้ำน่าน สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) นำเสนอแผนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง กลุ่ม 3 ลุ่มน้ำน่าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีคณะกรรมการทั้ง 36 หน่วยงานเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

ประธานในที่ประชุมได้กล่าวในเบื้องต้น เนื่องด้วยพื้นที่ในจังหวัดน่านส่วนใหญ่เป็นภูเขามีประชากรอยู่อาศัยบนพื้นที่สูงจำนวนมาก และยังพบปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจในชุมชน หน่วยงาน สวพส. มีภารกิจหลักในการพัฒนาพื้นที่สูง โดยมีโครงการหลวงเป็นต้นแบบการวิจัยและพัฒนา จึงต้องการให้การสนับสนุนผลักดันให้ สวพส. ดำเนินงานพัฒนาเชิงพื้นที่ในการวิจัยและพัฒนาบนพื้นที่สูงในจังหวัดน่าน ในการเร่งแก้ไขปัญหาด้านฝุ่นควัน PM 2.5 การขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้สำหรับอุปโภคบริโภคและในเชิงการทำการเกษตร

ในที่ประชุมมีเรื่องเพื่อพิจารณา 1. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาในพื้นที่ ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้าตามแผนที่ TPMAP ในพื้นที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน จากปัจจัยที่หลากหลายของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน วิเคราะห์พื้นที่ + ปัญหา + ความต้องการ + แนวทางแก้ไข + ข้อมูล = ชุมชน และมีปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ได้แก่ 1) คน - ขาดความรู้ มีการใช้สาเคมีไม่ถูกต้อง ผลผลิตไม่มีคุณภาพ หนี้สินและความยากจน 2) พื้นที่ – ขาดแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค และการเกษตร รวมถึงสภาพดินเสื่อมโทรม ซึ่งมีภาระกิจที่ต้องดำเนิน แก้ปัญหาความยากจน เป็นต้น เรื่องเพื่อพิจารณา เรื่องที่ 2 คือ การดำเนินงานพื้นที่วิกฤตปัญหาด้านการประกอบอาชีพที่ก่อให้เกิดฝุ่นควัน PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยให้มีการดำเนินงาน ดังนี้ 1) จัดทำฐานข้อมูล / ขออนุญาตใช้พื้นที่ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ 2) การจัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ และ 3) การพัฒนาตามแผนอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการ ระเบียบและกฎหมาย

ในการนี้ ประธานได้แจ้งในที่ประชุม เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินงาน ในพื้นที่วิกฤตปัญหาด้านการประกอบอาชีพ ที่ก่อให้เกิดฝุ่นควัน PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดน่าน ถึงรูปแบบการดำเนินงานโดยวิธีการปรับระบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่อำเภอเวียงสา (ทั้งอำเภอ) บ้านบัวใหญ่ อำเภอนาน้อย และบ้านพี้ อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาด้านต่าง ๆ เข้าร่วมบูรณาการดำเนินงานในพื้นที่ต่อไป

เพื่อเตรียมการให้ อำเภอเวียงสาเป็นพื้นที่น้ำร่อง แก้ไขปัญหาด้าน PM 2.5 โดยแนะให้มีการเปลี่ยนการปลูกข้าวโพดพืชเชิงเดี่ยวเป็นพืชอื่นให้เกษตรกรได้เลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย พืชไม้ผล ไม้ยืนต้นมาทดแทน ซึ่งอาจศึกษารูปแบบแม่แจ่มโมเดล หรือถอดแบบโครงการหลวงโมเดลมาปรับใช้ในการพัฒนาแก้ไขปัญหา รวมถึงการขอความร่วมมือในการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร สรรพกำลังในท้องถิ่นพื้นที่ และขอความสนับสนุนองค์ความรู้ และข้อมูลจาก สวพส. โดยสามารถนำองค์ความรู้จากพื้นที่ที่สำเร็จแล้ว ได้แก่ ปางแดงใน อ.เชียงดาว มาปรับใช้ เพื่อให้การดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานเกิดประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาครั้งนี้ได้สูงสุด

กิจกรรม สวพส. เพิ่มเติม