ต้นแบบเลิศรัฐสาขา ร่วมแลกเปลี่ยน ภาครัฐสุดล้ำ ก้าวไกลทันโลก

“คู่วิถีชุมชนอยู่ร่วมกับป่าสมบูรณ์ตอบโจทย์พื้นที่สูง” ต้นแบบเลิศรัฐสาขา ร่วมแลกเปลี่ยนใน “Moving Forward : ภาครัฐสุดล้ำ ก้าวไกลทันโลก”

 

“ภาครัฐสุดล้ำ” เป็นความตั้งใจให้หน่วยงานของรัฐ ขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการที่ช่วยสร้างความมั่นใจ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ ที่ผ่านมา มีแนวคิดหลักในการพัฒนา 2 หลักคิด ทั้ง Digital Transformation ผลิกโฉมภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล ตรงตามเป้าหมายรัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย และ Open Government การเป็นภาครัฐเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน เข้าใจความตั้งใจในการทำงานเพื่อบริการประชาชน เปิดโอกาสให้ร่วมพัฒนา ร่วมทบทวนการขับคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ

 

 

รางวัลเลิศรัฐ” เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่มอบให้หน่วยงานภาครัฐที่มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศแห่งหน่วยงานภาครัฐทั้งปวง และถือเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐ สร้างแรงจูงใจและความเชื่อมั่นให้ทุกระดับปฏิบัติการ พร้อมใจ ร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาขีดความสามารถการบริการและการบริหารจัดการของหน่วยงานอีกด้วย ในปี 2567 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ จัดประชุมชี้แจงแนวทางการสมัครและหลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 ในวันที่ 14 ธันวาคม 2566 ณ โรงเเรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร โดย นางสาวทินรัตน์ พิทักษ์พงศ์เจริญ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง พร้อมด้วยนายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) และ นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเป็นวิทยากรถอดบทเรียนความสำเร็จและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "Moving Forward : ภาครัฐสุดล้ำ ก้าวไกลทันโลก" กล่าวคือ......

สวพส. ขยายผลต้นแบบความสำเร็จการพัฒนาเชิงพื้นที่ อย่างสมดุล ครบวงจร ตามแบบโครงการหลวง (RPF Model) ไปปรับใช้ตามบริบทพื้นที่สูงอื่น ซึ่งนำมาแก้ไขปัญหาความยากจนที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นยาวนานบนพื้นที่สูง และชุมชนบนพื้นที่สูงบางส่วนยังไม่ได้รับโอกาสในการเข้าถึงบริการภาครัฐที่เพียงพอและเหมาะสม ปัจจัยความสำคัญที่ค้นพบ คือ การนำหลักคิดตามแนวทางโครงการหลวงไปปรับใช้ ร่วมกับข้อมูล – นวัตกรรม – เทคโนโลยี – การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง – ความร่วมมือ ตลอดจนถอดบทเรียนทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จ สิ่งเหล่านั้นช่วยตรวจสอบ ค้นหา และยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการและการให้บริการทั้งองค์กร

 

 

ต้นแบบเลิศรัฐสาขา “คู่วิถีชุมชนอยู่ร่วมกับป่าสมบูรณ์ตอบโจทย์พื้นที่สูง” เป็นโมเดลช่วยสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนบนพื้นที่สูง จากการปรับระบบเกษตรประณีตมูลค่าสูง และบริหารจัดการโดยสถาบันเกษตรกรของชุมชนเอง สร้างรายได้อย่างต่อเนื่องช่วยลดความเหลื่อมล้ำในระดับเศรษฐกิจฐานราก ร่วมกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ภูเขา การอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งอาหาร (Food Bank) และความหลากหลายทางชีวภาพบนพื้นที่สูง เป็นแหล่งอาหารขนาดใหญ่ให้ท้องถิ่นมีความมั่นคงทางอาหาร ช่วยเพื่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศ ภายใต้การกำหนดขอบเขตพื้นที่เกษตรและพื้นที่ป่าที่ชัดเจนผ่านข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชนเอง

กิจกรรม สวพส. เพิ่มเติม