ประชุมแนวทางการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง

สวพส. ร่วมกับ สถานีควบคุมไฟป่าภูพิงค์ จัดประชุมแนวทางการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง

 

 

          วันที่ 23 ธันวาคม 2563 สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ร่วมกับสถานีควบคุมไฟป่าภูพิงค์ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดประชุมแนวทางการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง (โครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า) ปี 2564 ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 44 แห่ง ณ Wintree City Resort Chiang Mai อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี ดร.เพชรดา อยู่สุข รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ด้านการพัฒนา เป็นประธานในพิธีเปิดและมอบนโยบาย การบริหารจัดการแนวทางการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ตลอดจนการเฝ้าระวังการเกิดไฟจากพื้นที่การเกษตร และไฟป่า โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานร่วมภาคีเครือข่ายดำเนินงานในพื้นที่

 

         ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจากเจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าภูพิงค์บรรยายเชิงวิชาการ แนวทางปฏิบัติ และมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ระหว่างเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง 44 แห่ง และเจ้าหน้าที่จากสถานีควบคุมไฟป่าภูพิงค์ ดังนี้

          1 .ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไฟป่า ผลกระทบจากไฟป่า เทคนิควิธีการเอารอดจากสถานการณ์ฉุกเฉินขณะดับไฟ โดย นางสาวพัชรินทร์ ดวงดี

          2. การจัดการเชื้อเพลิง การป้องกัน และแก้ไขปัญหาไฟป่า โดยนายสุทัศน์ ช่อวิลาศ

          3. สาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ดับไฟป่าและเทคนิควิธีการดับไฟป่า โดย นายสมาน ไชยจินดา

 

 

        ตลอดจนการจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ในพื้นที่ดำเนินการส่งเสริมโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระยะ 8 ปี ( ปี พ.ศ.2563-2570)  แผน 8 ปี สิ่งแวดล้อม โดยชุมชนมีการนำแผนที่การใช้ที่ดิน แผนที่รายแปลงของเกษตรกร ฐานข้อมูล และองค์ความรู้ ไปใช้ประโยชน์ในการปรับระบบเกษตร ป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่า ลดการเผา ลดหมอกควัน และลดใช้สารเคมี / ใช้พื้นที่น้อยผลตอบแทนสูง ลดการใช้พื้นที่ดินทำกิน ลดไร่หมุนเวียน ลดการปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยวที่ไม่เหมาะสม 240,805 ไร่ อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบนิเวศน์ ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, ปลูกป่าเปียก โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 2,975,676 ไร่ ปลูกฟื้นฟูป่า 61,600 ไร่ ฯลฯ

 

 

กิจกรรม สวพส. เพิ่มเติม