สวพส.เข้ารับตรวจประเมินผลงานรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567
สวพส.เข้ารับตรวจประเมินผลงานรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ สวพส. ผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดน่าน เข้าร่วมการตรวจประเมินผลงานรางวัลเลิศรัฐ 2 ผลงาน ได้แก่ (1) สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รายหมวด (หมวด 2 ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์และการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ) (2) สาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 (PMQA 4.0) ณ พื้นที่ปฏิบัติงาน (Site visit) ในรูปแบบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ Zoom meeting จัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ โดยคณะกรรมการผู้ตรวจประเมิน ได้แก่ 1.อาจารย์ปรัชญา เวสารัชช์ ประธาน 2.อาจารย์ภาวนา กิตติวิมลชัย กรรมการ 3.อาจารย์อาดุลย์ โชตินิสากรณ์ กรรมการ
ช่วงแรก นำเสนอภาพรวมการบริหารยุทธศาสตร์ของ สวพส. ในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับหมวด 2 ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์และการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ และผลงานที่โดดเด่น ผ่านการถ่ายทอดสด (Live) ณ สำนักงานน่าน ในประเด็น “การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติในจังหวัดน่าน ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นผลลัพธ์และความยั่งยืน” ดำเนินรายการโดย นายมนัส กุณนา นักวิชาการส่งเสริมและพัฒนา ร่วมกับผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ อบต.แม่จริม อบต.ดู่พงษ์ อบต.ภูคา อบต.เมืองลีและผู้นำเกษตรกรจากพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่จริม โป่งคำ บ่อเกลือ ถ้ำเวียงแก และน้ำแป่ง จังหวัดน่าน
ช่วงที่สอง สรุปผลการดำเนินงาน สวพส. ตามแนวทางระบบราชการ 4.0 และการนำเสนอผลงานที่โดดเด่นผ่านการถ่ายทอดสด (Live) 2 จุด คือ จุดที่ 1 ณ สำนักงานน่าน ในประเด็น “การบูรณาการทำงานทุกภาคส่วนสู่ความยั่งยืน และแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านการจัดการตลาดเกษตรกรน่าน ดำเนินรายการโดย นายชวลิต สุทธเขตต์ รักษาการหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง กลุ่มที่ 3 (ลุ่มน้ำน่าน) ร่วมกับผู้แทนหน่วยงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดน่าน เกษตรกรจังหวัดน่าน ประมงจังหวัดน่าน พัฒนาที่ดินจังหวัดน่าน และผู้แทนเกษตรกรจากโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง จังหวัดน่าน
จุดที่ 2 เยี่ยมชมตัวอย่างการปฏิบัติงานระดับพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงขุนสถาน ตัวอย่างโรงเรือน Smart farm พริกหวาน : ด้วยการใช้เทคโนโลยี ถูก ทน ง่าย โดย นายเชี่ยวชาญ ย่าวิริยะโชติ นักวิชาการส่งเสริมและพัฒนา ร่วมกับนางจำปี วิสรุตเวสภู ผู้แทนเกษตรกร ณ โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงขุนสถาน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน