สวพส. เสนอการพัฒนาแบบโครงการหลวงแก้ปัญหาฝุ่นควัน ไทย-ลาว

สวพส. และ TEI คพ. ร่วมกับ สปป.ลาว ประชุมความร่วมมือและผลักดันการทำงานเชิงรุกหมอกควันข้ามแดน

เสนอแนวทางการพัฒนาแบบโครงการหลวงแก้ปัญหาการเผาและฝุ่นควัน PM2.5

          (2 เม.ย. 67) สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) หรือ สวพส. เข้าร่วมประชุมโครงการพัฒนาความร่วมมือไทย-ลาว-เมียนมา ขับเคลื่อนการจัดการและลดมลพิษหมอกควันข้ามแดน จัดประชุม Kick Off Workshop Thai-Lao PDR Cooperation: Hotspot and Transboundary Haze Pollution Reduction :ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อให้ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย เจ้าเมืองและเจ้าหน้าที่เมืองห้วยทราย ต้นผึ้ง และปากทา แขวงบ่อแก้ว และไซยะบุรี ของ สปป.ลาว รับทราบแนวทางการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นยกระดับการปฏิบัติลดหมอกข้ามแเดนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ด้วยความร่วมมือกันทั้งในระดับนโยบายและระดับพื้นที่เป้าหมายใน 2 แขวง โดยได้รับเกียรติจาก Mr.Lonkham Atsanavong DG of NRERI, MONRE,LAO PDR เป็นประธานกล่าวเปิดร่วมกับนางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ โดยกล่าวว่า ปัญหามลพิษหมอกควันในภูมิภาคแม่โขง มีแหล่งกำเนิดสำคัญเกิดจากการเผาป่าและวัสดุการเกษตรในระดับที่ส่งผบกระทบต่อสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องทั้ง สปป.ลาวและไทยเองก็ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงมีนโยบายการจัดการมลพิษของประเทศร่วมกันและภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ฟ้าใส (CLEAR Sky Strategy) เพื่อร่วมขับเคลื่อนกลไกทั้งในระดับนโยบายของประเทศและผลักดันนโยบายมลพิษข้ามแดนให้เกิดการดำเนินการทำงานเชิงรุกในพื้นที่เป้าหมาย และเสริมสร้างศักยภาพประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละประเทศต่อไป

          นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง กล่าวว่า ปัญหาการเผาบนพื้นที่สูงที่เกิดขึ้นต้องแก้ให้ตรงจุด ต้องดูจากสาเหตุ ซึ่งทั้งในสปป.ลาว หรือประเทศไทย สาเหตุการเผาในปัจจุบันก็คล้าย ๆ กัน คือ ประชาชนบนพื้นที่สูงมีความยากจน ห่างไกลจากความเจิญ ขาดความรู้ ขาดการเข้าถึงบริการจากภาครัฐ  และด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องขยายพื้นที่ทำกินเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัวให้เพียงพอ รวมถึงเทคโนโลยีที่มาใช้กับการจัดการแปลงเกษตรมีราคาสูงและไม่สามารถเข้าถึงได้ การเผาจึงเป็นวิธีที่ง่าย และไม่มีต้นทุน สวพส. เป็นหน่วยงานที่นำหลักการปฏิบัติงานและองค์ความรู้ของโครงการหลวงที่ประสบผลสำเร็จด้วยการปรับระบบเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกษตรปลอดภัย ไม่เผา ทำน้อยได้มาก สร้างตลาดนำการผลิต เปลี่ยนพืชเชิงเดี่ยวเป็นพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง  สร้างสถาบันเกษตรกร  ทุกวันนี้กเกษตรกรในพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด เป็นการปลูกพืชผักในโรงเรือน นอกโรงเรือน ไม้ผล  กาแฟใต้ร่มไม้ สามารสร้างรายได้ที่เพียงพอต่อครอบครัว เมื่อมีรายได้ที่เพียงพอก็ไม่ไปบุกรุกป่า และมีเวลาดูแลรักษาป่า  เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับธรรมชาติ ดังนั้นรูปแบบการทำเกษตรแบบโครงการหลวงจึงเป็นที่ยอมรับ และสามารถลดการเผา จุด Hotpot และหมอกควัน PM2.5 ได้เป็นอย่างดี

          ทั้งนี้ มูลนิธิโครงการหลวง และ สวพส. ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือทางวิชาการไทย-ลาว ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดแห่งชาติลาว (Lao National Commission for Drug Control and Supervision) และ United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) ประจำ สปป.ลาว โดยดำเนินโครงการนำร่องการประยุกต์ใช้องค์ความรู้โครงการหลวงในการสร้างรายได้ทดแทนพืชเสพติดและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน แก้ไขปัญหาความยากจนและการเผา ซึ่งเป็นต้นเหตุของฝุ่นควัน PM2.5 ในพื้นที่เป้าหมาย 2 หมู่บ้าน  คือ บ้านนาแสนคำและบ้านห้วยอุ่น อำเภอไชย แขวงอุดมไชย สปป.ลาว โดยเข้าไปเริ่มตั้งแต่วิเคราะห์ปัญหา ศึกษาตลาด การเลือกพืชผักที่เหมาะสมกับพื้นที่และที่ตลาดรองรับ การนำองค์ความรู้การปลูกผักในโรงเรือนแบบประณีตแบบโครงการหลวงไปส่งเสริม ถ่ายทอดให้กับเกษตรผู้นำ จนปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักในพื้นที่ สามารถสร้างรายได้ที่เพียงพอต่อครอบครัว และเป็นพื้นที่ต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ใน สปป.ลาวมาศึกษาดูงานและขยายรูปแบบการทำเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแบบโครงการหลวงต่อไปอีกหลายพื้นที่ เพื่อเป็นการป้องกันสาเหตุการเผาพื้นที่โล่ง และลดปัญหาฝุ่นละออง แก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ สปป.ลาวในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

 

กิจกรรม สวพส. เพิ่มเติม