สวพส. ร่วมกับ มูลนิธิโครงการหลวง จัดกิจกรรม “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกและพัฒนาการผลิตองุ่นของไทย”

 

             สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน) โดยโครงการสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการเรียนรู้การปลูกไม้ผล และอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง โดยสถานีเกษตรหลวงปางดะ ร่วมกันจัดกิจกรรม “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกและพัฒนาการผลิตองุ่นของไทย” ขึ้น ระหว่างวันที่ 29–30 สิงหาคม 2562 ณ ห้องประชุมกัลปพฤกษ์ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่ และสถานีเกษตรหลวงปางดะ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสังเคราะห์องค์ความรู้การปลูกองุ่น และระดมความคิดเห็นในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการปลูกองุ่นของประเทศไทย และเพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีการปลูกองุ่นให้แก่นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป เพื่อส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าในการพัฒนาปลูกองุ่นของประเทศไทย ด้วยการร่วมมือ การแบ่งปัน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง  ซึ่งจะเป็นผลทำให้การปลูกองุ่นเป็นอาชีพของเกษตรกรมีความยั่งยืน มีเกษตรกรและผู้ที่สนใจการปลูกองุ่นเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน

 

 

            นายวิรัตน์ ปราบทุกข์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (สวพส.) ได้นำเสนอเรื่อง “ความก้าวหน้าของการพัฒนาปลูกองุ่นในประเทศไทย” และให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมเสวนาเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการปลูกองุ่นในระบบใหม่จากการวิจัย และพัฒนาของโครงการหลวงกับสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ซึ่งช่วยให้ได้ผลผลิตสูง คุณภาพดี สะดวกต่อการจัดการ ลดการใช้สารเคมีและความเสี่ยงด้านการตลาด และมีการสอนวิธีการคำนวณสาร และการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในการผลิตองุ่นรับประทานสด โดย นางสาวจิระนิล แจ่มเกิด และนายพิมุกต์พันธรักษ์เดชา นักวิชาการส่งเสริมและพัฒนา

            นอกจากนี้ยังมีการศึกษาดูงานความก้าวหน้าของงานวิจัยและพัฒนาการปลูกองุ่นของโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงที่ถ่ายทอดสู่เกษตรกร เช่น รูปแบบการปลูกองุ่นแบบใหม่ๆ และการไปดูพื้นที่จริงเพื่อศึกษาดูงาน เรียนรู้การปลูกองุ่น การพัฒนาการผลิตองุ่นของไทย และลงมือปฏิบัติการตัดแต่งกิ่งองุ่นเพื่อเอาผลผลิต ณ สถานีเกษตรหลวงปางดะ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่

 

 

 สวสพ. ได้ส่งเสริมการปลูกองุ่นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันผลสำเร็จจากการปลูกองุ่น ทำให้การปลูกองุ่นตามระบบใหม่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง โดยมีเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมปลูกองุ่นตามระบบใหม่ของโครงการหลวง จำนวน 498 ราย พื้นที่ 178.2 ไร่ ให้ผลผลิตแล้วรวม 70.4 ตันต่อปี มูลค่า 10.01 ล้านบาท นอกจากนี้ยังขยายไปสู่พื้นที่ต่างๆ ของประเทศ

 

กิจกรรม สวพส. เพิ่มเติม