โครงสร้างและลักษณะป่าของป่ารอบชุมชนบ้านป่าเกี๊ยะ พื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ป่าในชุมชนบ้านป่าเก๊ยะ  ตำบลท่าก๊อ (หมู่ที่ 18) อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นชุมชนที่ประกอบด้วยชนเผ่าล่าหู่ อาข่า และกะเหรี่ยง ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงที่มีลักษณะภูมิสังคมดั้งเดิมเป็นไร่เลื่อนลอยแบบหมุนเวียน (Rotation agriculture) ปัจจุบันมีการปลูกพืชไร่เป็นรายได้ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งปลูกผลไม้ ได้แก่ พลับ บ้วย กล้วย เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

  • 1. ป่าชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ (Conservation forest)
  • 2. ป่าชุมชนเพื่อการใช้สอย (Utilization forest)

ปัจจุบันห้ามไม่ให้สมาชิกของหมู่บ้านขยายพื้นที่การเพาะปลูกเข้าไปในพื้นที่ป่าชุมชน โดยมุ่งหวังให้ป่าฟื้นสภาพความอุดมสมบูรณ์และมีการอนุรักษ์พืชพรรณไม้ในป่า โดยเฉพาะพืชสมุนไพรให้สืบทอดไปสู่คนรุ่นหลังต่อไป โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  • 1. ป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp forest)
  • 2. ป่าดิบแล้ง (Dry evergreen forest)

ป่าดิบแล้งมีพันธุ์ไม้ที่พบในป่าเบญจพรรณขึ้นปะปนอยู่ โดยเฉพาะ ไผ่ซางและไผ่ไร่ ส่วนป่าเต็งรังนั้นแต่เดิมเป็นป่าเต็งรังผสมสน ปัจจุบันพบ ไม้สนสองใบ (เกี๊ยะเปลือกดำ) และ สนสามใบ (เกี๊ยะเปลือกแดง) ที่มีลำต้นขนาดเล็กขึ้นอยู่ปะปนเพียงเล็กน้อย ไม้สนขนาดใหญ่ได้มีการตัดฟันและล้มตายไปจากการรบกวนในอดีต

 ป่าเต็งรัง

พบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 63 ชนิด (species) ใน 49 สกุล (genera) และ 28 วงศ์ (families) โดยแยกเป็น

- ต้นไม้ขนาดใหญ่ (big trees) จำนวน 17 ชนิด

- ต้นไม้ขนาดกลาง (medium-sized trees) 23 ชนิด

- ต้นไม้ขนาดเล็ก (small trees) 11 ชนิด

- ไม้พุ่ม (shrubs) 5 ชนิด

- ไม้เลื้อย (vines) 4 ชนิด

  • - และไผ่ 2 ชนิด
  • ในแปลงสุ่มตัวอย่างที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 มีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ เท่ากับ 32, 34, 35, 32 และ 29 ชนิดต่อไร่ ตามลำดับ  พันธุ์ไม้ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยมากที่สุดคือ ไม้รัง (45.4 ต้น/ไร่) รองลงมาคือ ไม้เหียง (35 ต้น/ไร่)  รักใหญ่ ( 29 ต้น/ไร่) และ เก็ดดำ (24.2 ต้น/ไร่) พันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ นั้นมีค่าน้อยกว่า 15 ต้น/ไร่ ต้นไม้ขนาดใหญ่ ได้แก่ กระพี้ ก่อหมาก กุ๊ก ไม้ขนาดเล็กคือ แข้งกวาง ติ้วขน เคาะ คำมอกหลวง และที่เป็นไม้พุ่มกึ่งไม้เลื้อย ได้แก่ เครือพันซ้าย

  • ป่าดิบแล้ง

    ป่าดิบแล้งของชุมชนบ้านป่าเกี๊ยะเป็นป่าดิบแล้งบนพื้นที่สูงที่มีลักษณะของสังคมพืชผันแปรไปตามพื้นที่ พบขึ้นปกคลุมตามพื้นที่หุบเขา ไหล่เขาและสันเขาหรือยอดเขาที่มีความลาดชันมาก  ตามไหล่เขาและยอดเขาส่วนใหญ่มี ไม้ยางแดง (Dipterocarpus turbinatus) ขึ้นเป็นไม้เรือนยอดเด่น (Dominant tree) แต่พื้นที่ตามหุบเขาริมห้วยมี ไม้ยางนา (Dipterocarpus alatus) เป็นไม้เรือนยอดเด่น ไม่พบไม้ยางปายและตะเคียนทอง

  • พบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 79 ชนิด (species) ใน 63 สกุล (genera) และ 32 วงศ์ (families) โดยแยกเป็น

    - ต้นไม้ขนาดใหญ่ (big trees) จำนวน 22 ชนิด

    - ต้นไม้ขนาดกลาง (medium-sized trees) 18 ชนิด

    - ต้นไม้ขนาดเล็ก (small trees) 23 ชนิด

    - ไม้พุ่ม (shrubs) 8 ชนิด

    - ไม้เลื้อย (vines) 3 ชนิด ซึ่งพบไผ่ 5 ชนิด

    แปลงสุ่มตัวอย่างที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 มีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ เท่ากับ 42, 49, 46, 44 และ 47 ชนิด ตามลำดับ

  •  ค่าดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ โดยใช้สมการ Shannon-Shannon-Wiener Index (SWI) พบว่า

    - ป่าเต็งรัง มีค่าผันแปรระหว่าง 3.25-4.06  ซึ่งมีค่าค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับป่าเต็งรังบริเวณอื่น

    - ป่าดิบแล้ง มีค่าผันแปรระหว่าง 3.80-4.43 ซึ่งมีค่าสูงกว่าป่าเต็งรังเล็กน้อย

    ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้

    ค่า FCI ซึ่งใช้บ่งชี้สภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ว่าอยู่ในระดับอุดมสมบูรณ์มากน้อยแตกต่างกันอย่างไร

    - ป่าเต็งรัง มีค่าผันแปรระหว่าง 5.38-14.63 (เฉลี่ย 9.12)

    - ป่าดิบแล้ง มีค่าผันแปรระหว่าง 38-107 (เฉลี่ย 66.0))

    มูลค่าไม้ในป่า

    1. มูลค่าไม้เฉลี่ยในป่าเต็งรัง เท่ากับ 233,216 บาทต่อไร่
    2. มูลค่าไม้เฉลี่ยในป่าดิบแล้ง เท่ากับ 645,325 บาทต่อไร่
 
เขียน / เรียบเรียงเรื่องโดย:
นางสาวอัปสร วิทยประภารัตน์ รศ.ดร.สุนทร คำยอง และคณะ
แหล่งที่มา / เอกสารอ้างอิง:

การศึกษาโครงสร้างและลักษณะป่าในชุมชนบ้านป่าเกี๊ยะ

รศ.ดร.สุนทร คำยอง และคณะ

ภาควิชาเกษตรที่สูงและทรัพยากรธรรมชาติ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ข้อมูลนี้เป็นที่น่าพึงพอใจหรือเป็นประโยชน์สำหรับท่านหรือไม่
 

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง